การเขียนเรียงความแต่ละฉบับนั้นจะได้รับการพิจารณาที่ถี่ถ้วน จากผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรียงความนั้นโดยตรง เรียงความแต่ละฉบับบนั้นต่างจะมีเอกลักษณ์เป็นของแต่ละคน แม้ว่าการเขียนเรียงความแนะนำตัวจะเป็นการทำสิ่งที่เปลี่ยนชีวิตของคุณตลอดกาล อย่างไรก็ตาม จงอย่าวิตกกังวล เพราะเรามีคำแนะนำจาการเขียนเรียงความมาฝาก
- เป็นตัวของตัวเอง
‘คุณมีคุณสมบัติอะไรที่จะแบ่งปันในชั้นเรียน ในขณะที่คนอื่นไม่สามารถทำได้? คำตอบคือตัวคุณเอง เรียงความแนะนำตัวแต่ละฉบับได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนมากที่สุด และเจ้าหน้าที่ต่างก็มองหาคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์จากผู้สมัครแต่ละคน การเขียนเรียงความให้เป็นตัวของตัวเองเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจว่าคุณจะโดดเด่นจากผู้สมัครที่สมัครเข้าโรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยจำนวนหลายพันคนในแต่ละปี’
‘ที่มหาวิทยาลัยของเรา เจ้าหน้าที่จะตั้งใจอ่านเรียงความแนะนำตัวของผู้สมัครแต่ละคนเป็นอย่างดี เพื่อให้ทราบว่าคุณมีแรงบันดาลใจอะไรที่มาศึกษาต่อที่สหราชอาณาจักร มีความสนใจต่อสาขาที่วิชาเลือกมากน้อยแค่ไหน รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณทำนอกเหนือจากการเรียน ซึ่งบ่งบอกได้ว่าคุณเป็นคนอย่างไร
‘และความลับอีกอย่างคือ กระบวนการการคัดเลือกของเราทำเพื่อสร้างความมั่นใจว่า คุณจะมีความสุขเมื่อมาเรียนที่นี่ และได้ใช้เวลาที่มีคุณค่า หนังสือแนะนำตัวของคุณอาจเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการสัมภาษณ์ทางสไกป์อีกด้วย’
~ Helen Adams, เจ้าหน้าที่การตลาดนักศึกษานานาชาติ, มหาวิทยาลัย Buckingham
- อธิบายว่าทำไมคุณถึงเหมาะกับสาขาวิชานี้
‘เราไม่สามารถเดาได้ว่าทำไมคุณถึงเข้าเรียนสาขาวิชานี้ ดังนั้นช่วยบอกเราด้วยว่าทำไมคุณจึงเลือกสาขานี้ คุณคาดหวังอะไรจากการเรียนสาขานี้ งานวิจัยอะไรที่คุณทำแล้วเห็นว่ามีน้ำหนักพอว่าคุณเหมาะสมกับสาขานี้ และหากคุณได้เข้าเรียนสาขานี้จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนอนาคตข้างหน้าของคุณอย่างไร พวกเราอยากรู้!’
- แสดงให้เห็นว่าประสบการณ์ที่คุณมีจะช่วยส่งเสริมการเรียนของคุณได้อย่าง
‘เขียนประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน อย่างเช่น งาน หรืองานอาสาสมัคร หรือกิจกรรมนอกห้องเรียน เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณเข้าใจทักษะในทางปฏิบัติที่จำเป็นต่อสาขาที่จะเข้าศึกษา หรือกระทั่งการวางแผนอนาคตการทำงานของคุณ
‘หากคุณกังวลว่าประสบการณ์ของคุณไม่ได้เกี่ยวข้องกับสาขาที่สมัครสักเท่าไหร่ ลองไตร่ตรองดูดีๆ ว่าประสบการณ์ที่คุณมีสอนอะไรให้แก่คุณ และคุณจะนำประสบการณ์เหล่านี้ไปใช้ในการศึกษาได้อย่างไร หากคุณต้องการเข้าเรียนสาขาการเงิน คุณไม่จำเป็นต้องเคยทำงานธนาคารมาก่อน แต่งานที่คุณทำอาจช่วยให้คุณมีทักษะการจัดการ และการคิดอย่างเป็นตรรกะ’
- คุณมีแรงบันดาลใจต่อสาขาที่จะเข้าศึกษาแค่ไหน
‘ไม่มี “ใบสมัครที่สมบูรณ์แบบ” แต่เราคาดหวังว่า จะได้เห็นแรงบันดาลใจที่คุณเลือกเข้าศึกษาสาขาดังกล่าวอย่างชัดเจน ถ้าสมมุติว่าทุกอย่างเหมือนกันหมดเลย (เช่น ผู้สมัครมีคะแนนสอบเท่ากัน) เราจะเลือกรับผู้สมัครที่สื่อให้เห็นว่าอยากเรียนสาขานี้จริงๆ’
หากคุณสมัครเข้าเรียนในระดับปริญญาตรีผ่านระบบ UCAS คุณจะสามารถส่งใบสมัครใบเดียวกันได้ถึงห้ามหาวิทยาลัย หรือวิทยาลัย นั่นแปลว่าในหนังสือแนะนำตัวของคุณควรจะแสดงให้เห็นถึงสาขาที่คุณต้องการจะสมัคร ความสนใจ ประสบการณ์ มากกว่าสถาบัน
‘ทำให้เห็นว่า คุณอยากจะเรียนสาขานี้จริงๆ จงจำไว้ว่า แม้ว่าคุณสมบัติของคุณจะดีเลิศขนาดที่ทุกมหาวิทยาลัยจะต้องอ่านหนังสือแนะนำตัวของคุณ แต่พยายามอย่าทำให้มหาวิทยาลัยที่คุณสมัครรู้สึกว่าพวกเขาเป็นเพียงตัวเลือกหนึ่งของคุณ!’
~ Gemma Carroll, เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างประเทศ, มหาวิทยาลัย Glasgow
- เขียนให้ดีที่สุด
‘จงมั่นใจว่า เรียงความแนะนำตัวของคุณเขียนออกมาอย่างดีที่สุด และไม่ผิดหลักไวยากรณ์ หรือสะกดผิด ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องจำเป็นตลอดการเรียนของคุณ ดังนั้นคุณจึงต้องเริ่มฝึกตั้งแต่ตอนนี้ นอกจากนี้คุณต้องเขียนให้ตรงประเด็น ยิ่งคุณเขียนได้ตรงประเด็นว่าทำไมคุณสมัครสาขานี้ ใบสมัครของคุณยิ่งจะมีน้ำหนักมากขึ้น และคุณก็จะยิ่งทำให้เราสนใจคุณมากขึ้นเท่านั้น’
‘เราเข้าใจว่า การไม่ได้ใช้ภาษาแม่ และต้องใช้ภาษาที่สองให้เป็นธรรมชาตินั้นยากเพียงใด (หรือแม้กระทั่งภาษาที่สาม หรือสี่) แต่ช่วยดูให้แน่ใจว่าคุณได้ใช้หลักไวยากรณ์ถูกต้อง และไม่มีตัวสะกดผิด เช็คก่อนส่งหลายๆ ครั้ง และให้คนอื่นช่วยอ่านให้คุณอีกรอบหนึ่ง อย่ามาเปลี่ยนเอาตอนท้าย โดยที่ไม่ได้ตรวจทานเอกสารทั้งหมดสำหรับการสะกด และการเขียนที่ซ้ำซ้อน!’
~ Dr Joanna Shearer, หัวหน้าฝ่ายการรับสมัครนักศึกษา, Imperial College London
- ไม่ต้องไปดึงคำคมจากหนังเรื่องโปรดมาใส่
‘ไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการเห็นคำคม หรือเนื้อเพลง หรือแม้กระทั่งสุภาษิตสอนใจในเรียงความแนะนำตัวของคุณ เพราะว่านี่เป็นโอกาสเดียวเท่านั้นที่จะแสดงให้เห็นความเป็นตัวตนของคุณ ในฐานะเจ้าหน้าที่ การเห็นคำคมอยู่ในหนังสือแนะนำตัวเป็นเรื่องที่รับไม่ได้’
เพียงหลักการง่ายๆ เท่านี้เราเชื่อว่าสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเขียนเรียงความได้อย่างที่เลยที่เดียว
Credit: http://goo.gl/907vWa